หูตึง หูหนวก เป็นอาการที่ หูไม่ได้ยิน เสียงที่อยู่รอบตัวได้ตามปกติที่เคยเป็น ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นความบกพร่องที่ไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายส่วนอื่นมากนัก แต่ในทางกลับกันสามารถเป็นต้นเหตุให้เราได้รับอุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บอื่นๆ ตามร่างกายในขณะที่ใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน เพราะการที่ หูไม่ได้ยิน แปลว่าเราจะไม่สามารถรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้เราป้องกันตัวเองได้ช้ากว่าเดิม แล้วสัญญาณอะไรที่จะบ่งบอกว่าเรากำลังกลายเป็นคนหูหนวก

  • ระดับความผิดปกติของการสูญเสียการได้ยิน

หูไม่ได้ยิน หรือการสูญเสียการได้ยินสามารถแบ่งออกเป็นระดับความรุนแรงได้ 5 ระดับ ดังนี้

-10-25 เดซิเบล ถือว่าเป็นระดับการได้ยินในหูที่มีความปกติ สามารถได้ยินเสียงพูดและเสียงกระซิบเบาๆ ได้เป็นอย่างดี 

26-40 เดซิเบล เป็นการสูญเสียการได้ยินของผู้ที่มีอาการหูตึงน้อย จึงทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงกระซิบ แต่ยังคงสามารถได้ยินเสียงพูดด้วยเสียงปกติได้ 

41-55 เดซิเบล หรือผู้ที่เริ่มมีอาการหูตึง หูไม่ได้ยิน ระดับปานกลาง จะไม่ได้ยินเสียงพูดปกติ จึงต้องใช้เสียงพูดที่ดังกว่าเดิมและอาจจะต้องมีการใช้เครื่องช่วยฟังเสริมขณะพูดคุยด้วย 

56-70 เดซิเบล เป็นระดับการสูญเสียการได้ยินในผู้ที่มีอาการหูตึงมาก หูไม่ได้ยิน เสียงเสียงพูดถึงแม้จะเป็นเสียงที่ดังมากแล้วก็ตาม และต้องใช้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา

71-90 เดซิเบล คือผู้ที่หูตึงขั้นรุนแรง แม้จะมีการตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงก็ยังไม่สามารถได้ยินอย่างชัดเจน 

90 เดซิเบล ขึ้นไป เป็นระดับการสูญเสียการได้ยินในผู้ที่มีภาวะหูหนวก ไม่สามารถได้ยินเสียงได้แม้จะเพิ่มระดับความดังด้วยเครื่องขยายเสียงหรือตะโกน ทั้งยังไม่สามารถเข้าใจความหมายอีกด้วย

  • วิธีสังเกตอาการหูตึง หูไม่ได้ยิน ด้วยตนเอง

คำถามต่อมาคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังจะกลายเป็นคนหูตึง ในการสังเกตตัวเองนั้นก็จะมีวิธีการที่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

ฟังเสียงกระซิบหรือเสียงเสียดสีของนิ้วด้วยการถูนิ้วระหว่างนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และใบหู ถ้าไม่ได้ยินเสียงเหล่านี้ แสดงว่าการได้ยินของเราเริ่มมีความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์

เข้ารับการทดสอบการได้ยินหรือตรวจวัดสมรรถภาพที่โรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้เราทราบได้โดยทันทีว่าเราเป็นผู้ที่มีปัญหาหรือสูญเสียการได้ยินหรือไม่เพราะแพทย์จะมีขั้นตอนและวิธีการตรวจที่ละเอียด ที่สามารถบอกผลลัพธ์ออกมาเป็นค่าได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ถ้ามีการตรวจพบความผิดปกติแพทย์จะวินิจฉัยและร่วมปรึกษาหาทางเลือกวิธีแก้ไขอาการหูตึง หูไม่ได้ยินนี้ ซึ่งบางรายอาจจะสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด แต่บางรายก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องช่วยฟังตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ